วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หน่วยการเรียนรู้ วิชาภาษาจีน หน่วยที่ 1

แผนการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ชื่อวิชา ภาษาจีน    รหัสวิชา       จำนวน 1  หน่วยกิต     ภาคเรียนที่   2  ปีการศึกษา 2554

หลักสูตร  มัธยมศึกษาตอนต้น

หน่วยการเรียนรู้ที่/ชื่อหน่วยการเรียนรู้  1/การเชื้อเชิญ  บทเรียนที่  1  

ชื่อบทเรียน我来找金琴    ชื่อเรื่องที่ทำการสอน  เชิญนั่ง เชิญนั่ง



1.              บทนำ

ข้อความหรือคำที่กล่าวโดยทั่วไปในการทักทายสำหรับในภาษาไทยนั้นจะใช้คำว่า “สวัสดี และถ้าหากต้องการเพิ่มความสุภาพในการทักทายก็มักจะมีคำว่า “ค่ะหรือ “ครับต่อท้ายคำว่า“สวัสดี ส่วนคำทักทายในภาษาอังกฤษที่ใช้กล่าวโดยทั่วไปนั้นจะใช้คำว่า “Hello” หรือหากเมื่อเจอกันครั้งแรกก็มักใช้คำว่า “How do you do?และในภาษาจีนก็มีคำที่ใช้ในการทักทายเช่นเดียวกัน นั่นคือคำว่า 你好 nĭhăo สวัสดี หรือ 您好 nínhăo สวัสดี(สุภาพ)

2.            สาระการเรียนรู้

2.1      การทักทายเป็นมารยาททางสังคมที่ทุกคนพึงปฏิบัติ

2.2      การเรียนรู้การใช้

-你好! nĭhăo!  สวัสดีครับ(ค่ะ)

-你好吗? Nĭ hăo ma?คุณสบายดีไหม

- ไม่

- ne นะ

-再见 zàijiàn ลาก่อน,แล้วพบกันใหม่

-先生 xiānsheng นาย,สุภาพบุรุษ,สามี  และ小姐 xiăojiĕ นางสาว,สุภาพสตรี,           หญิงสาว,ลูกสาว,คุณหนู

หลังจากที่อาจารย์ผู้สอนแนะนำและอธิบายเกี่ยวกับคำศัพท์เรื่องการทักทายแล้ว จากนั้นอาจารย์ผู้สอนก็อธิบายหลักภาษาและโครงสร้างไวยากรณ์ของบทเรียนที่น่าสนใจ อาทิเช่น การใช้คำศัพท์ในการแต่งประโยค หน้าที่ของคำศัพท์ ตำแหน่งของการวางคำศัพท์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น อาจารย์ผู้สอนก็เพิ่มการเรียนรู้บทสนทนาของบทเรียน ตัวอย่างเช่น         

金琴 :   你好吗?

立宏 :   我好,你好吗?

金琴 :    我也很好,你最近忙不忙?

立宏 :   我很忙,也很累,你呢?

金琴 :   我不很忙,也不太累,明天见。

立宏 :   明天见。

3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

- ผู้เรียนสามารถใช้ประโยคเกี่ยวกับการทักทายได้อย่างถูกต้อง

- ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ ไม่

- ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ ne นะ ได้อย่างถูกต้องและ 

   เหมาะสมพร้อมทั้งสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

- ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้再见 zàijiàn ลาก่อน,แล้วพบกันใหม่  ในภาษาจีน   

  ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

- ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้先生 xiānsheng นาย,สุภาพบุรุษ,สามี  และ

  小姐 xiăojiĕางสาว,สุภาพสตรี,หญิงสาว,ลูกสาว,คุณหนู

4. สมรรถนะที่พึงประสงค์

       4.1 ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมายของตนเองได้

       4.2 ผู้เรียนสามารถนำหลักภาษาที่ได้เรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง

       4.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานเพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ทางภาษา

       4.4 ผู้เรียนสามารถนำการฝึกฝนในชั้นเรียนเป็นประสบการณ์สำหรับนอกชั้นเรียนต่อไป

       4.5  ผู้เรียนสามารถจับใจความจากบทสนทนาที่พูดคุยได้

       4.6 ผู้เรียนสามรถใช้สำนวนหรือคำพูดได้ถูกต้องตรงกับสถานการณ์



5. กิจกรรมการเรียนการสอน

5.1 ขั้นลองผิดลองถูก

อาจารย์ผู้สอนนำวีดิทัศน์เกี่ยวกับการทักทายมาเปิดให้ผู้เรียนได้ชม พร้อมทั้งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงลักษณะของการใช้คำ การใช้ประโยค วิธีการออกเสียงในการสนทนา พร้อมกันนี้ให้ผู้เรียนได้ลองฝึกฝนอ่านออกเสียงตามการออกเสียงของวีดีทัศน์ เพื่อเป็นการเริ่มต้นการฝึกฝนการออกเสียงในสำเนียงของเจ้าของภาษา

5.2       ขั้นเรียนรู้

5.2.1                   อาจารย์ผู้สอนนำเข้าสู่การเรียนการสอนโดยเริ่มจากการอธิบายวัตถุประสงค์ของ

บทเรียนพร้อมทั้งระบุถึงเป้าหมายที่ชัดเจนของการเรียนให้แก่ผู้เรียนได้รับทราบ

5.2.2                   อาจารย์ผู้สอนเริ่มต้นกระบวนการเรียนการสอนโดยเริ่มจากการทบทวนคำศัพท์ของบทเรียนให้แก่ผู้เรียนอีกครั้งหนึ่ง

5.2.3                   อาจารย์ผู้สอนอธิบายเกี่ยวกับหลักภาษาและโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่น่าสนใจในบทเรียนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เช่น การใช้คำทักทาย你好! nĭhăo! สวัสดี,การใช้ประโยคสำหรับการทักทาย你好吗? Nĭ hăo ma? คุณสบายดีไหม หรือจะเป็นคำว่า再见zàijiàn ลาก่อน,แล้วพบกันใหม่ ใช้ในกรณีใดเป็นต้น

5.2.4                   อาจารย์ผู้สอนยกตัวอย่างของบทสนทนาซึ่งจะสามารถทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

金琴                     :        你好吗?

Jīnqín         :        Nĭ hăo ma?

จินฉิน                    :              คุณสบายดีไหม

立宏           :        我好,你好吗?

Lìhóng        :        Wŏ hăo, nĭ hăo ma?

ลี่หง              :              ฉันสบายดี แล้วคุณสบายดีไหม

金琴           :         我也很好,你最近忙不忙?

Jīnqín         :        Wŏ yĕ hĕn hăo, nĭ zuìjìn máng bù

máng?

                             จินฉิน            :              ฉันก็สบายดี ช่วงนี้คุณยุ่งหรือไม่

立宏           :        我很忙,也很累,你呢?

Lìhóng        :        Wŏ hĕn máng, yĕ hĕn lèi ,nĭ ne?

ลี่หง                        :              ฉันยุ่งมากและก็เหนื่อยมากด้วย คุณล่ะ

金琴           :        我不很忙,也不太累,明天见。

Jīnqín         :        Wŏ bù hĕn máng ,yĕ bú tài lèi,

míngtiān jiàn

                             จินฉิน                    :              ฉันไม่ค่อยยุ่ง และก็ไม่ค่อยเหนื่อยเลย พบกันพรุ่งนี้นะ

立宏           :        明天见。

Lìhóng        :        Míngtiān jiàn

ลี่หง                        :             พบกันพรุ่งนี้จ๊ะ

5.3            ขั้นฝึกหัด

5.3.1   อาจารย์ผู้สอน(老师)ให้ผู้เรียนทบทวนคำศัพท์ของบทเรียน หลักภาษาและโครงสร้าง

             ทางไวยากรณ์ และบทสนทนา

5.3.2                   อาจารย์ผู้สอน(老师)นำกิจกรรมการเรียนรู้เข้ามาช่วยฝึกหัด กิจกรรมดังกล่าว คือ การแสดงบทบาทสมมติเกี่ยวกับการทักทาย โดยให้ผู้เรียนจับคู่กันจากนั้นช่วยกันแต่งบทสนทนาที่เกี่ยวกับการทักทาย ฝึกฝนการโต้ตอบบทสนทนา แล้วอาจารย์ผู้สอนให้คู่สนทนาแต่ละคู่ออกมาแสดงบทบาทสมมติตามบทสนทนาของตนเองที่หน้าชั้นเรียน

5.3.3                   อาจารย์ผู้สอน(老师)ให้คู่สนทนาแต่ละคู่คัดลอกบทสนทนาของตนเองลงในกระดาษพร้อมทั้งใส่เครื่องหมายเสียงพินอิน(拼音)และความหมายของบทสนทนานั้นด้วย และให้ส่งแก่อาจารย์ผู้สอน(老师)เพื่อตรวจความถูกต้อง

5.4            ขั้นทดสอบ

5.4.1     อาจารย์ผู้สอน(老师)ฟังการออกเสียงในการแสดงบทบาทสมมติของผู้เรียนแต่ละคู่

            หากคนใดมีการออกเสียงที่ไม่ถูกต้องก็แนะนำการออกเสียงที่ถูกต้องให้แก่ผู้เรียนคน

             นั้นและผู้เรียนคนอื่นได้ฟัง

5.4.2                   อาจารย์ผู้สอน(老师)ตรวจสอบบทสนทนาของผู้เรียนแต่ละคู่และบันทึกคะแนนในสมุดบันทึกคะแนนของตนเองเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาของอาจารย์ผู้สอนเอง

6.              การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ทักษะที่ต้องการวัดและประเมินผลของผู้เรียน
(能力)
ระดับคะแนนที่วัดและประเมินผลของผู้เรียน
รวมทั้งหมด
合计
(คะแนน)
()
หมายเหตุ
5(五分)
4(四分)
3(三分)
2(二分)
1(一分)
1.        ทักษะการฟัง
      (听能力)







2.        ทักษะการพูด
      (说能力)







3.         ทักษะการอ่าน
      (读能力)







4.        ทักษะการเขียน
      (写能力)










การวัดและประเมินผลแบ่งเป็นระดับคะแนนโดย

5 คะแนน(五分)              หมายถึง                                ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน(听说读写

能力)อยู่ในระดับดีมาก



        4 คะแนน(四分)              หมายถึง                                ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน(听说读写

能力)อยู่ในระดับดี

        3 คะแนน(三分)              หมายถึง                                ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน(听说读写

能力)อยู่ในระดับปานกลาง

2 คะแนน(二分)              หมายถึง                                ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน(听说读写

能力)อยู่ในระดับพอใช้

        1 คะแนน(一分)              หมายถึง                                ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน(听说读写

能力)อยู่ในระดับควรปรับปรุง

                7. สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน

                     7.1 สื่อการเรียนรู้

                                - powerpointประกอบการเรียนการสอน

                                - บัตรคำศัพท์

                                - CD เสียงประกอบการเรียนการสอน

                                - VCD ภาพประกอบบทเรียน

                                - หนังสือภาษาจีนเล่ม 1 รหัสวิชา 2201-2831

                     7.2 แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

                                สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากห้องสมุดของโรงเรียน(图书馆)และหอสมุดแห่งชาติ

8.            การบูรณาการร่วมกับรายวิชาอื่น ๆ

สามารถบูรณาการร่วมกับรายวิชาภาษาอังกฤษ(英语课)ได้โดยการใช้แทนเสียงพินอิน

(拼音) และนำคำศัพท์และรูปประโยคในภาษาจีนเทียบเคียงกับคำศัพท์และรูปประโยคในภาษาอังกฤษและสามารถร่วมกับรายวิชาภาษาไทย(泰语课)ได้โดยการแปลความหมายเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนยิ่งขึ้นอีกด้วย





9.            บันทึกหลังการใช้แผนการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

9.1        ปัญหาและอุปสรรคขณะทำการเรียนการสอน

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

9.2       ข้อเสนอแนะและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

9.3       ผลการเรียนของผู้เรียน

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

9.4       ผลการใช้แผนการสอนของครู

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................